บิดเบือน! เติมน้ำมันตอนเช้า จะได้เยอะกว่าเติมตอนบ่าย

บิดเบือน! เติมน้ำมันตอนเช้า จะได้เยอะกว่าเติมตอนบ่าย

จากข้อมูลที่มีการแพร่กระจายกันว่า เติมน้ำมันตอนเช้า จะได้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าเติมตอนบ่ายนั้น พบว่ามีการบิดเบือน และไม่จริงทั้งหมด (8 มิ.ย. 2565) ตามที่มีการบอกต่อข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง เติมน้ำมันตอนเช้า จะได้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าเติมตอนบ่าย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีที่มีคำแนะนำในสื่อออนไลน์ได้ระบุว่า การเติมน้ำมันตอนเช้า 

จะได้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าตอนบ่าย เนื่องจากสภาพอากาศตอนเช้ายังค่อนข้างเย็น น้ำมันไม่ขยายตัว จึงได้ปริมาณน้ำมันเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ทางบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ถึงแม้ว่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และจะยุบตัวเมื่อเย็นลง ในการซื้อขายน้ำมันที่ซื้อขายกันเป็นปริมาตร ทำให้ดูเหมือนว่าการเติมน้ำมันตอนเช้าจะได้ปริมาณมากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว น้ำมันที่เติมจากสถานีบริการน้ำมันนั้นอยู่ในระบบปิดทุกอย่าง ตั้งแต่ถังน้ำมัน ท่อจ่าย ซึ่งจะอยู่ใต้ดิน และเทคอนกรีตทับ ทำให้น้ำมันไม่ได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อมภายนอกโดยตรง ถังน้ำมันที่อยู่ใต้ดินจึงมีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ เพราะความร้อนจากอากาศภายนอกจะถูกดูดซับโดยชั้นดินและความชื้นในดิน ซึ่งไม่สามารถส่งผ่านลงไปถึงเนื้อน้ำมันได้โดยตรง

จากการวัดอุณหภูมิของน้ำมันจากมือจ่ายในตอนเช้าและบ่ายที่อุณหภูมิต่างกันมากที่สุดพบว่า น้ำมันจากมือจ่ายจะมีอุณหภูมิต่างกันมากที่สุดไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส และเมื่อพิจารณาค่าการขยายตัวของน้ำมัน โดยน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะมีปริมาตรต่างกัน 0.001 ลิตร/องศาเซลเซียส และน้ำมันดีเซลมีการขยายตัว 0.0007 ลิตร/องศาเซลเซียสนั้น จะเห็นว่าปริมาณน้ำมันแตกต่างกันน้อยมาก จึงควรเลือกเวลาเติมที่สะดวกจะเหมาะสมที่สุด

นอกจากนี้ ที่สถานีบริการน้ำมันจะมีมิเตอร์ที่ตู้จ่ายซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย สถานีบริการ พีทีที สเตชัน ทุกแห่งของ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ ได้เข้าร่วมโครงการ “สถานีบริการน้ำมันเต็มลิตร” ของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะมีการตรวจสอบและส่งข้อมูลให้กับกระทรวงพาณิชย์ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าได้ปริมาณน้ำมันถูกต้องครบถ้วนตามจำนวนลิตรไม่ว่าจะเติมเวลาใดก็ตาม

ดังนั้นข้อมูลที่มีการโพสต์ และแชร์ต่อในขณะนี้ จึงเป็นข้อมูลบิดเบือน ขอความร่วมมือประชาชน ไม่แชร์ ไม่ส่งต่อข่าวดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการจากบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.pttor.com หรือโทร. 1365 Contact Center

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นสารไฮโดรคาร์บอนจะขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และจะยุบตัวเมื่อเย็นลงจริง แต่น้ำมันที่เติมจากสถานีบริการน้ำมันนั้นอยู่ในระบบปิดทุกอย่าง ไม่ว่าเติมเวลาใดก็ตามปริมาณน้ำมันก็จะถูกต้องครบถ้วนตามจำนวนลิตรที่เติมไป

WHO เผย สาเหตุฝีดาษลิงระบาด แนะทั่วโลกช่วยสกัดการแพร่ระบาด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้โพสต์ข้อความเฟซบุ๊ก ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุฝีดาษลิงระบาด โดยอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะทั่วโลกต้องสกัดการแพร่ระบาดก่อนที่ฝีดาษลิงจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น

WHO แจงว่าเกิดการระบาดใหญ่ที่ผิดปรกติของไวรัสฝีดาษลิงนอกทวีปแอฟริกาอย่างรวดเร็วภายใน 3 อาทิตย์ ส่งสัญญาณอันตรายว่าไวรัสได้เปลี่ยนไป ทั่วโลกต้องช่วยกันยุติการระบาดก่อนจะสายกลายเป็นโรคประจำถิ่น

-สาเหตุหลักน่าจะมาจากการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงเมื่อ 5 ปีก่อนต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันใน “ไนจีเรีย”ที่ถูกละเลย

-WHO ย้ำว่าไวรัสฝีดาษลิงไม่ใช่เชื้อไวรัสที่ติดต่อ “ผ่านสารคัดหลั่งในช่องคลอดและอสุจิขณะมีเพศสัมพันธ์” เหมือนเชื้อไวรัสเอชไอวี แต่สามารถติดต่อกันได้ “ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์” เช่นเดียวกับหวัด หรือโควิด และไม่ใช่โรคเฉพาะเกย์

-บางประเทศเริ่มพบการระบาดของไวรัสฝีดาษลิงอย่างน้อยสองสายพันธุ์ (clade) ไปพร้อมกัน เช่นที่สหรัฐอเมริกา ยังไม่ทราบความแตกต่างของการระบาดและความรุนแรงของอาการระหว่าง 2 สายพันธุ์

-นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกเริ่มระดมถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จำนวน 2 สองแสนตำแหน่งของไวรัสฝีดาษลิงขึ้นแบ่งปันบนฐานข้อมูลโลก “GISAID”

-WHO แถลงล่าสุดมีผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงแล้วอย่างรวดเร็วกว่า 800 ราย (6 มิ.ย. 2565) ในช่วง 3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่ที่ WHO คาดว่าจะเกิดตามมาคือการแยกกักตัว

ไวรัสฝีดาษลิงมีการแยกกักตัวตั้งแต่ขึ้นตุ่มจนตกสะเก็ด (infectious period) กินเวลานานถึง 2-4 สัปดาห์ ซึ่งยาวนานกว่าไวรัสโคโรนา 2019 มาก อันน่าจะส่งผลกระทบรุนแรงยิ่งกว่าโรคโควิด-19 ที่ระยะแยกตัวสั้นกว่า ทั้งด้านเศรษฐกิจ (ปัญหาการต้องหยุดประกอบอาชีพนานร่วมเดือน) สังคม และสาธารณสุข (ค่าใช้จ่ายในระหว่างการกักแยกตัวเอง นานร่วมเดือน) หากมีการระบาดใหญ่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป